3 น้ำมันเพื่อสุขภาพสำหรับการกินและปรุงอาหาร
3 น้ำมันเพื่อสุขภาพสำหรับการกินและปรุงอาหาร ทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลายคนเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะในเรื่องอาหารการกิน หลายคนหลีกเลี่ยงที่จะบริโภคน้ำมันแม้จะเป็นปริมาณที่เล็กน้อย แต่ความจริงแล้วน้ำมันก็จัดเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการบริโภค จัดอยู่ในโภชนาการ 5 หมู่ เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมัน แต่ควรหาวิธีในการใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมทั้งปริมาณและชนิดของน้ำมัน โดย USDA’s database ที่เป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการอาหารและความปลอดภัยทางอาหาร ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพไว้หลายชนิด โดยบทความนี้จะคัดมาทั้งหมด 3 ชนิด ดังนี้
น้ำมันเมล็ดองุ่น (Grapeseed Oil)
ประโยชน์ต่อสุขภาพ: ถึงแม้ว่าน้ำมันเมล็ดองุ่นจะไม่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายเหมือนกับตัวเลือกอื่น ๆ ที่มาจากพืช แต่น้ำมันเมล็ดองุ่นมีคุณค่าทางโภชนาการอาหารบางอย่างที่น้ำมันมะกอกไม่มี นั่นคือระดับกรดไลโนเลอิกสูง และจากการวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอพบว่ายิ่งมีปริมาณกรดไขมันชนิดนี้สูง จะสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคเบาหวานได้ และยังสามารถลดไขมันช่วงลำตัวได้ ซึ่งน้ำมันเมล็ดองุ่นเป็นแหล่งกรดไลโนเลอิกที่ดีเยี่ยม ประกอบด้วยกรดไขมันประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์
วิธีใช้: น้ำมันเมล็ดองุ่นมีความคล้ายคลึงกับน้ำมันมะกอกในการปรุงอาหาร แต่จะดีกว่าเมื่อใช้สำหรับการปรุงอาหารที่อุณหภูมิสูง
น้ำมันอะโวคาโด (Avocado Oil)
ประโยชน์ต่อสุขภาพ: น้ำมันอะโวคาโดมีคุณค่าทางโภชนาการอาหารอย่างโอเมก้า นอกจากนี้ยังทำให้สารอาหารเช่นแคโรทีนอยด์พร้อมสำหรับการดูดซึมของร่างกายมากขึ้น (ตั้งแต่ 2 ถึง 15 เท่า) การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าน้ำมันอะโวคาโดมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ หลอดเลือดที่แข็งแรง และสุขภาพตาที่ดีขึ้น
วิธีใช้: เหมาะสำหรับการทอดเนื้อสัตว์และทอดอาหาร เช่น ในกระทะ นอกจากนี้รสชาติน้ำมันที่มีความหอมมันคล้ายเนยยังช่วยเพิ่มรสชาติในซุปผักและขนมปังกรอบอีกด้วย
น้ำมันงา (Sesame Oil)
ประโยชน์ต่อสุขภาพ: น้ำมันงามีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมายคุณค่าโภชนาการอาหาร เช่น การลดความดันโลหิต ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าน้ำมันงาสามารถขจัดคราบฟันและปรับปรุงสุขภาพช่องปากโดยรวมได้ และจากการศึกษาในปี 2554 พบว่าอาจมีประโยชน์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ที่รับประทานยารักษาโรคเบาหวาน
วิธีใช้: น้ำมันงาขาวเหมาะสำหรับทอด ส่วนน้ำมันงาดำจากงาคั่วจะใช้ผัดเนื้อสัตว์หรือผัก นอกจากนี้การใช้น้ำมันงายังช่วยเพิ่มรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ให้อาหารได้ แต่ข้อควรระวังคือ ควรแช่เย็นเสมอเพราะอาจจะทำให้น้ำมันมีกลิ่นได้