ผู้เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารอย่างไร
ผู้เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารอย่างไร “ฉันกินอะไรได้บ้าง” เป็นหนึ่งในคำถามที่พบบ่อยที่สุดที่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สมาคมโรคเบาหวานแห่งอเมริกัน หรือ American Diabetes Association ไม่ได้ให้คำแนะนำเฉพาะเกี่ยวกับสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันอีกต่อไป แนวทางดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การพัฒนารูปแบบการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์และนักโภชนาการ อาหารที่มีประสบการณ์ในการทำงานกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งให้คำแนะนำดังต่อไปนี้
1.ลดคาร์โบไฮเดรต
โดยรวมแล้วคุณต้องควบคุมคาร์โบไฮเดรต และเลือกรับประทานแหล่งที่มาของคาร์โบไฮเดรตที่ดี โดยควรมาจากแหล่งที่อุดมด้วยสารอาหาร เช่น ผัก (โดยเฉพาะที่ปราศจากแป้ง) ธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้ พืชตระกูลถั่ว และผลิตภัณฑ์จากนม มากกว่าจากอาหารแปรรูปที่มีไขมัน น้ำตาล และโซเดียม
2.จำกัดการบริโภคไขมันอิ่มตัว
ไขมันอิ่มตัวนั้นจะพบได้มากในไขมันที่มาจากสัตว์ จึงควรลดการบริโภคไขมัน ทั้งนี้ผู้ป่วยเบาหวานก็ยังคงต้องระมัดระวังอย่างมากต่อการบริโภคไขมันแม้จะมาจากพืช เพราะมีผลต่อการดำเนินโรค
3.ลดการบริโภคโซเดียม
โซเดียมนั้นมีผลอย่างมากหากคุณเป็นโรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน ทางที่ดีควรบริโภคให้น้อยกว่า 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือต่ำกว่านั้นถ้าคุณมีความดันโลหิตสูงเข้ามาร่วมด้วย
4.ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์
แม้ว่าทุกคนจะไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีไขมันที่สูงมาก และหากคุณอยากทานจริง ๆ ก็ต้องคำนวณและลดปริมาณอาหารชนดอื่นให้อยู่ในระดับที่สามารถบริโภคแอลกอฮอล์ได้ ซึ่งนั่นคงไม่คุ้มกับการได้ทานมื้ออร่อยที่รอคอยมานานจริงไหม ที่สำคัญคือแอลกอฮอล์อาจมีผลกับผู้ที่ต้องใช้อินซูลินอีกด้วย